ยกเลิกกรมธรรม์ประกันภัย พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ จะได้เบี้ยคืนเท่าไร?

ยกเลิกกรมธรรม์ประกันภัย พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ จะได้เบี้ยคืนเท่าไร?

การทำประกันภัย พ.ร.บ. เป็นความจำเป็นที่เจ้าของรถหรือผู้ครองรถตามสัญญาเช่าซื้อ ต้องจัดทำ ประกันภัย พ.ร.บ. ทุกปี เพราะการทำประกันภัย พ.ร.บ. ถือเป็นความรับผิดชอบต่อสังคม เพื่อเป็นหลักประกันว่าหากเกิดอุบัติเหตุขึ้น มีผู้ที่ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต จะต้องได้รับการคุ้มครองช่วยเหลือเยียวยาอย่างทันท่วงที

แต่ ถ้าทำประกันภัย พ.ร.บ.แล้ว และต้องการจะยกเลิกกรมธรรม์ ยกเลิกได้แต่ผู้เอาประกันภัยจะได้รับเงินค่าเบี้ยคืนบางส่วน

ด้วยเหตุผลที่ว่า “เมื่อผู้เอาประกันภัยชำระค่าเบี้ยประกันภัยแล้วตามเงื่อนไขกรมธรรม์กำหนดให้กรมธรรม์ประกันภัยนั้นมีผลใช้บังคับทันที หรือเกิดความคุ้มครองทันที และเมื่อผู้เอาประกันภัยบอกยกเลิกกรมธรรม์ ผู้เอาประกันภัยมีสิทธิได้รับเบี้ยประกันภัยคืนตามเงื่อนไขกรมธรรม์ ในอัตราการคืนเบี้ยประกันภัย พ.ร.บ.รถจักรยานยนต์ ระบุไว้ดังนี้  

จำนวนเดือนที่คุ้มครอง

1

2

3

4

5

6

7

8

9

10

11

12

เบี้ยประกันภัยคืนร้อยละ

80

70

60

50

40

30

20

15

10

0

0

0

 เช่น หากจำนวนเดือนที่มีการคุ้มครองไปแล้วตั้งแต่วันที่เริ่มทำ จนถึง  1 เดือน จะได้รับเบี้ยประกันภัยคืนร้อยละ 80 หรือหากคุ้มครองไปแล้ว 2 เดือนได้รับเบี้ยประกันภัยคืนร้อยละ 70 เป็นต้น

โดยผู้เอาประกันภัยสามารถขอยกเลิกกรมธรรม์ ได้ที่สาขาของบริษัทกลางฯ ทั่วประเทศ โดยต้องเตรียมเอกสารดังนี้

    1.ต้นฉบับกรมธรรม์ที่ขอยกเลิก

  2.สำเนาบัตรประชาชน (พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง)

หากไม่สามารถมาขอยกเลิกได้ด้วยตนเอง ก็สามารถมอบอำนาจให้ผู้อื่นมาทำการขอยกเลิกแทนได้

โดยต้องมีเอกสารที่แนบ (เพิ่มเติม) ดังนี้

    1.หนังสือมอบอำนาจ

    2.สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ผู้รับมอบอำนาจ (พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง)

แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อยกเลิกกรมธรรม์แล้ว เจ้าของรถหรือผู้ครอบครองรถก็ต้องจัดทำประกันภัยพ.ร.บ.ด้วย ไม่เช่นนั้นจะมีความผิดตามกฎหมาย กล่าวคือหากเจ้าของรถหรือผู้ใดนำรถที่ไม่มีประกันภัยพ.ร.บ. มาใช้ จะมีความผิดมีโทษปรับสูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท

สำหรับผู้ประสบภัยจากรถทุกคนจะได้รับการคุ้มครองตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดการทำประกันภัย พ.ร.บ.และใช้สิทธิความคุ้มครองได้ที่ บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด Call Center 1791 ตลอด 24 ชั่วโมง หรือที่ www.rvp.co.th

ข่าวเกี่ยวข้อง